ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ยัสเซอร์ อาราฟัต

ยัสเซอร์ อาราฟัต (อาหรับ: ???? ?????? ยาซิร อะเราะฟาต; 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) เป็นที่รู้จักในชื่อในการรบว่า อะบู อัมมาร์ (อาหรับ: ??? ??????) ชื่อจริงคือ มุฮัมมัด อับดุรเราะอูฟ อะเราะฟาต อัลกุดวะฮ์ อัลฮุซัยนี (อาหรับ: ???? ??? ?????? ?????? ????????) เป็นผู้นำชาวปาเลสไตน์ เป็นประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ประธานองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) และผู้นำฟะตะห์ (Fatah) พรรคการเมืองและอดีตกลุ่มกำลังกึ่งทหารที่เขาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2502 อาราฟัตใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในการต่อสู้อิสราเอลเพื่อการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของปาเลสไตน์ แต่จากเดิมที่คัดค้านการมีอยู่ของอิสราเอล เขาเปลี่ยนท่าทีของตนใน พ.ศ. 2531 เมื่อเขายอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 อาราฟัตและขบวนการของเขาปฏิบัติการจากหลายประเทศอาหรับ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2503 และต้นปี พ.ศ. 2513 ฟะตะห์เผชิญหน้ากับจอร์แดนในสงครามกลางเมืองสั้น ๆ หลังถูกบังคับให้ออกจากจอร์แดนและเข้าไปในเลบานอน อาราฟัตและฟะตะห์เป็นเป้าสำคัญของอิสราเอลในการบุกครองเลบานอนใน พ.ศ. 2521 และ 2529 ทั้งสองครั้ง

อาราฟัตยังเป็นบุคคลที่เป็นที่ถกเถียงกันมาก ซึ่งมรดกของเขายังเป็นที่พิพาทกันอย่างกว้างขวาง เขา "ได้รับความเคารพนับถือจากชาวอาหรับจำนวนมาก" และชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองหรืออยู่กลุ่มแยกใดก็ตาม โดยมองเขาว่าเป็น นักสู้เพื่อเสรีภาพ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความปรารถนาชาติของพวกเขา อย่างไรก็ดี เขายังถูกบริภาษเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาวอิสราเอลจำนวนมาก ซึ่งมองว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้ายที่รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ระเบิดและการเสียชีวิตนับหลายร้อย นักวิจารณ์ยังกล่าวหาว่าอาราฟัตฉ้อราษฎร์บังหลวงขนานใหญ่ สั่งสมความมั่งคั่งส่วนบุคคลอย่างลับ ๆ ซึ่งประเมินกันว่ามีมูลค่าถึง 1,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ใน พ.ศ. 2545 แม้สภาพเศรษฐกิจของปาเลสไตน์จะตกต่ำลง

ในช่วงหลัง อาราฟัตเข้าร่วมเจรจาหลายครั้งกับรัฐบาลอิสราเอลเพื่อยุติความขัดแย้งนานหลายทศวรรษระหว่างอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ซึ่งรวมถึงการประชุมมาดริดใน พ.ศ. 2534 ข้อตกลงกรุงออสโล พ.ศ. 2536 และการประชุมสุดยอดแคมป์เดวิด พ.ศ. 2543 คู่แข่งทางการเมืองของเขา รวมทั้งกลุ่มอิสลามและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ฝ่ายซ้าย มักประณามเขาว่าทุจริต หรือยอมให้กับรัฐบาลอิสราเอลมากเกินไป ใน พ.ศ. 2537 อาราฟัตได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับยิตซัค ราบินและซิมอน เปเรส สำหรับการเจรจาที่กรุงออสโล ในช่วงนี้ ฮะมาสและกลุ่มพร้อมรบอื่น ๆ เถลิงอำนาจ และสั่นคลอนรากฐานของอำนาจที่ฟะตะห์ภายใต้การนำของอาราฟัตได้สถาปนาขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์

ปลาย พ.ศ. 2547 หลังถูกกักกันในบริเวณบ้านของเขาเป็นเวลากว่าสองปีโดยกองทัพอิสราเอล อาราฟัตก็ล้มป่วย โคม่าและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 อายุได้ 75 ปี สำหรับสาเหตุของอาการป่วยของเขานั้นยังมีการโต้เถียงกัน

อาราฟัตเกิดเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ในครอบครัวชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอียิปต์ ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซา ได้ไปใช้ชีวิตวัยเด็ก และวัยรุ่นที่กรุงไคโร กับพี่น้องชายหญิงอีกหกคน ทำให้สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับครอบครัวที่อาศัยในอียิปต์ไว้ได้ เขาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมฟารุก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

บิดาของอาราฟัตเป็นพ่อค้า และมีบุตรชายบุตรสาวรวมทั้งสิ้นเจ็ดคน สถานที่เกิด รวมทั้งวันเกิดของอาราฟัตยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน คาดว่าเขาเกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ แต่ก็มีบางฝ่าย ที่บอกว่าอาราฟัตเกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่นครเยรูซาเลม การค้นพบสูติบัติและเอกสารอื่นๆเกี่ยวกับอาราฟัต ของมหาวิทยาลัยแห่งกรุงไคโร ทำให้ข้อถกเถียงเกี่ยวกับสถานที่เกิดและวันเกิดของอาราฟัตเป็นอันยุติลง (อลัน ฮาร์ท ผู้เขียนชีวประวัติของอาราฟัตก็ยอมรับแล้วว่าอาราฟัตเกิดที่กรุงไคโร)

ชื่อที่บิดามารดาของอาราฟัตตั้งให้เมื่อแรกเกิด คือ มุฮัมมัด อับดุรเราะอูฟ อะเราะฟาต อัลกุดวะฮ์ อัลฮุซัยนี นายสะอีด เค. อะบูรีช ผู้เขียนชีวประวัติของอาราฟัตชาวปาเลสไตน์ได้อธิบาย (ในหนังสือ อาราฟัต: จากผู้พิทักษ์สู่เผด็จการ, สำนักพิมพ์บลูมสเบอรรี, พ.ศ. 2541, หน้า 7) ไว้ว่า "มุฮัมมัด อับดุลรอห์มาน เป็นชื่อต้นของเขา อับดุรเราะอูฟ เป็นชื่อของบิดา อะรอฟาตเป็นชื่อของปู่ อัลกุดวะหฺเป็นนามสกุล และอัลฮุซัยนีย์เป็นชื่อของชนเผ่าที่ครอบครัวของเขาเป็นสมาชิกอยู่" บางคนบอกว่าเขาสืบเชื้อสายชนเผ่าฮุซัยนีย์สายเยรูซาเลมจากมารดา (โดยใช้ชื่อว่าอาบุซซาอูด) แต่ชื่อดังกล่าวก็จะขัดแย้งกับชื่อที่สืบเชื้อสายจากทางสายบิดา

อาราฟัตใช้ชีวิตส่วนใหญ่ช่วงวัยเยาว์ในกรุงไคโร ยกเว้นช่วงเวลาสี่ปีหลังการเสียชีวิตของมารดา ระหว่างอายุห้าถึงเก้าขวบ ที่เขาไปอาศัยอยู่กับอาในเยรูซาเลม ในปีพ.ศ. 2492 เขาได้เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยกษัตริย์ฟาฮัดที่ 1 ในกรุงไคโร ที่สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิศวกรรมโยธา เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา เขาได้ร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มพี่น้องมุสลิม และ สมาคมนักศึกษาปาเลสไตน์ จนได้ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรในปีพ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2499 ในปีพ.ศ. 2499 เขาได้เป็นทหารในกองทัพอียิปต์ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ อาราฟัตแต่งงานเมื่ออายุค่อนข้างมากแล้วกับซูฮา อาราฟัตเลขานุการของเขา ผู้มีวัยอ่อนกว่าถึง 34 ปี และได้ให้กำเนิดบุตรสาวชื่อ ซาห์วา เมื่อปีพ.ศ. 2538 ภริยาของเขาอาศัยอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ช่วงที่สองของนโยบายอินติฟาเฎาะหฺ (การรณรงค์เพื่อต่อต้านการยึดครองของทหารอิสราเอล) ในปีพ.ศ. 2543 อาราฟัตถูกกองกำลังอิสราเอลกักอยู่ในเมืองรอมัลลอฮ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เขาป่วยหนักในปีพ.ศ. 2547 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่เมืองกลามาร์ ประเทศฝรั่งเศส


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301